- คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นนาม กริยา หรือวิเศษณ์ก็ได้ คำมูลเหล่านี้ต้องประกอบกับคำชนิดเดียวกัน คือเป็นคำนามด้วยกัน หรือกริยาด้วยกัน และทำหน้าที่ได้ต่าง ๆ เช่นเดียวกับชนิดของคำมูลที่นำมาซ้อนกันเช่น
กริยากับกริยา เช่น ทดแทน ชมเชย เรียกร้อง ว่ากล่าว สั่งสอน
วิเศษณ์กับวิเศษณ์ เช่น เข้มงวด แข็งแกร่ง ฉับพลัน ซีดเซียว เด็ดขาด
- คำมูลที่นำมาซ้อนกันอาจเป็นคำมาจากภาษาใดก็ได้ อาจเป็นคำไทยกับคำไทย คำไทยกับคำที่มาจากภาษาอื่น หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นทั้งหมด เช่น
- คำไทยกับคำไทย เช่น ผักปลา เลียบเคียง อ่อนนุ่ม อ้อนวอน
- คำไทยกับคำเขมร เช่น แบบฉบับ พงไพร หัวสมอง แจ่มจรัส
- คำไทยกับคำบาลีสันสกฤต เช่น เขตแดน โชคลาง พรรคพวก ศรีสง่า หมู่คณะ
- คำเขมรกับคำเขมร เช่น ขจัดขจาย เฉลิมฉลอง
- คำบาลีสันสกฤตกับคำบาลีสันสกฤต เช่น สรงสนาน ตรัสประภาษ เสบียงอาหาร
- คำมูลที่นำมาซ้อนกัน ส่วนมากเป็นคำมูล 2 คำ ถ้ามากกว่านั้นมักเป็นคำมูล 4 คำ หรือ 6 คำ
- คำมูล 2 คำ เช่น ข้าวปลา นิ่มนวล ปากคอ ฟ้าฝน หน้าตา
- คำมูล 4 คำ อาจมีสัมผัสกลางหรือซ้ำเสียง เช่น ได้หน้าลืมหลัง กู้หนี้ยืมสิน ยากดีมีจนมากหมอมากความ ไปวัดไปวา ต้อนรับขับสู้
- คำมูล 6 คำ มักมีสัมผัสระหว่างกลาง เช่น คดในข้องดในกระดูก จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
- คำซ้อนเพื่อความหมาย เราเน้นความหมายเป็นหลัก เช่น ใหญ่โต เล็กน้อย กว้างขวาง
- คำซ้อนเพื่อเสียง เราเน้นเสียงเป็นเกณฑ์ มักจะมีเสียงไปด้วยกันได้ เช่น เซ้าซี้ จู้จี้ โยเย โดกเดก งุ่นง่าน ซมซาน ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น